วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สื่ออินเตอร์เน็ต ในชีวิตประจำวัน




สื่ออินเตอร์เน็ต ในชีวิตประจำวัน 

               ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทุกคนคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า สื่ออินเตอร์เน็ตได้มีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป (คิดเป็น 10% ของกลุ่มคนอายุ 12 ปีขึ้นไปจากทั่วประเทศ ที่ใช้อินเตอร์เน็ตทุกวัน) และโดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ (คิดเป็น 25% กลุ่มคนอายุ 12 ปีขึ้นไปในกรุงเทพฯ และ 20% ของคนต่างจังหวัดที่ใช้อินเตอร์เน็ตทุกวัน) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความหลากหลายในการใช้งานที่ทุกคนสามารถเลือกที่จะใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องงาน เรื่องเรียน เพื่อการบันเทิง หรือแม้แต่จะใช้ในการจับจ่ายซื้อของต่างๆ
                 ดังนั้นถ้าเราเจาะดูในกลุ่มของผู้บริโภคในกรุงเทพฯแล้วจึงไม่น่าแปลกใจเมื่อพบว่า เทรนด์การบริโภคสื่ออินเตอร์เน็ตเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆแล้วนั้น สื่ออินเตอร์เน็ตมีการเติบโตในอัตราสูงที่สุด โดยเมื่อเทียบปี 2549 กับ ปี 2552 พบว่าอัตราเติบโตเพิ่มมากขึ้นถึง 15% ในขณะที่สื่อหลักอื่นๆส่วนใหญ่ต่างก็มีอัตราการเติบโตที่ลดลง และ บางรายถึงกับติดลบก็มี
                 เมื่อแบ่งแยกดูคนกรุงเทพฯที่มีการบริโภคสื่ออินเตอร์เน็ตในช่วงอายุต่างๆ พบว่ามีการบริโภคเพิ่มขึ้นในแทบทุกกลุ่มช่วงอายุ หากแต่ว่ามีการเติบโตมากอย่างเห็นได้ชัดที่สุดในกลุ่มวัยรุ่น โดยเพิ่มขึ้นมาถึง 31% ซึ่งเหตุผลก็น่าจะมาจากหลายๆปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นขอบเขตการให้บริการที่ครอบคลุมมากขึ้นทั้งอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงหรืออินเตอร์เน็ตไร้สายในจุดบริการต่างๆ, การเพิ่มจำนวนของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รวมถึงเทรนด์ความนิยมของโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่สามารถเล่นอินเตอร์เน็ตได้ หรือแม้กระทั่งโปรโมชันและแพ็กเกจอินเตอร์เน็ตที่ราคาถูกและดึงดูดใจผู้ใช้
                  เมื่อเราดูในรายละเอียดของกิจกรรมในการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตนั้น ก็พบว่าในสิ่งที่กลุ่มวัยรุ่นนิยมทำทางสื่ออินเตอร์เน็ตมากที่สุด 10 อันดับนั้น 3 อันดับแรกยังคงเป็น การรับส่งอี-เมล์, การติดต่อสื่อสารอื่นๆ เช่น การแชท การส่งเอสเอ็มเอสผ่านทางอินเตอร์เน็ต และการใช้โทรศัพท์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต และการเล่นเกมออนไลน์ ส่วนอีกเทรนด์ที่ค่อนข้างมาแรง คือ การหาข้อมูล รีวิว ของสินค้าและบริษัท ที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นมากที่สุด (+186%)
                 ในขณะที่กลุ่มวัยทำงานตอนต้นนั้นมีการใช้งานอี-เมล์มากที่สุดเช่นกัน รองลงมาคือการอ่านข่าวสารและอัพเดตเรื่องราวต่างๆ (เช่น อัพเดตข่าวในและต่างประเทศ หรือการอ่านหนังสือพิมพ์และนิตยสารออนไลน์) และการพูดคุยติดต่อสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ตเป็นอันดับที่ 3 ซึ่งการพูดคุยติดต่อสื่อสารนั้นเป็นสิ่งที่คนในกลุ่มนี้เริ่มมีพฤติกรรมในการทำเพิ่มขึ้นมากที่สุด (+176%) รองลงมาคือการหาข้อมูลของสินค้าและบริษัท (+56%)
                  ในขณะที่กลุ่มผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปีขึ้นไปนั้นมีการใช้งานอี-เมล์มากที่สุด ตามมาด้วยการอ่านข่าวสารอัพเดตเรื่องราวต่างๆ และการดาวน์โหลดโปรแกรมหรือไฟล์ต่างๆเป็นอันดับที่ 3 ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือ การเพิ่มขึ้นของการพูดคุยติดต่อสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ต (+160%) ตามมาด้วยความนิยมในการดาวน์โหลดสิ่งต่างๆ (+55%)
                    จะสังเกตได้ว่า ในทั้ง 3 กลุ่มช่วงอายุนั้นมีการใช้งานอินเตอร์เน็ตในบางด้านที่มากเหมือนๆกัน เช่น การรับส่งอี-เมล์ ในขณะที่การอ่านข่าวสารและอัพเดตเรื่องราวต่างๆนั้นกลับเป็นที่นิยมเฉพาะในกลุ่มผู้ใหญ่และคนทำงาน โดยมี 2 พฤติกรรมที่น่าสนใจคือ การพูดคุยติดต่อสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ต และ ที่มาแรงก็คือ การหาข้อมูลรีวิว ของสินค้าและบริษัท ซึ่งนี่จึงอาจเป็นอีกช่องทางที่นักการตลาดสามารถเข้าไปเป็นพันธมิตรกับกลุ่มรีวิวบล็อกเกอร์ หรือคนที่ชอบเข้าไปเขียนรีวิวเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการ หรือเราอาจปรับรูปแบบการให้ข้อมูลสินค้าให้มาเป็นในรูปแบบของรีวิว ก็น่าจะดึงดูดใจผู้อ่านได้มากกว่าวิธีเดิมๆ

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ภัยทางเน็ต!! หลอกไปข่มขืนใน ม.เกษตร



อ้างตัวเป็นอาจารย์ ม.เกษตรฯ หลอกนักศึกษา ล่อลวงไปข่มขืน ใครเสียหายแจ้งและดูตัวด่วน

รวบหนุ่มหื่นกาม อ้างตัวเป็นอาจารย์ ม.เกษตรฯ หลอกนักศึกษามหาวิทยาลัยดัง อ้างว่าจะพาไปสมัครเป็นพริตตี้ ที่แท้ล่อลวงไปข่มขืน แถมลักเอาทรัพย์สินไปเกลี้ยง ขณะที่ตำรวจ วอนผู้ที่เคยตกเป็นเหยื่อเข้าแจ้งความที่ สน.บางเขนได้ 24 ชม.

วันนี้ (15 ต.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. ที่ สน.บางเขน พ.ต.อ.พัฒนา เพศยนาวิน ผกก.สน.บางเขน พร้อมด้วย พ.ต.ท.ภูดิท จิตตธรรม สว.สส.สน.บางเขน และเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน ร่วมแถลงผลการจับกุมตัว นายพงษ์พันธ์ หรือจ้าน สองสุขสม อายุ 31 ปี อยู่บ้านเลขที่ 125/76 หมู่ 5 ต.บางกรวย อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 2268/2553 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2553 ในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ และลักทรัพย์ในเวลากลางคืนในสถานที่ราชการโดยมีอาวุธ

พ.ต.อ.พัฒนากล่าวว่า การจับกุมครั้งนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา น.ส.เอ (นามสมมติ) นักศึกษามหาวิทยาลัยชื่อดัง ผู้เสียหายได้เดินทางเข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน ว่าถูกคนร้ายอ้างตัวเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอ้างว่าจะพาไปสมัครเป็นพริตตี้ ล่อลวงไปข่มขืนพร้อมทั้งขโมยเอาทรัพย์สินไป หลังจากรับแจ้งเจ้าหน้าที่จึงทำการตรวจสอบภาพวงจรปิดในที่เกิดเหตุจนกระทั่งทราบว่าคนร้ายรายนี้คือนายพงษ์พันธ์ โดยพฤติการณ์คือจะหลอกเหยื่อที่มีการโพสต์ข้อความสมัครหางานและอยากเป็นพริตตี้บนอินเทอร์เน็ต จากนั้นก็จะหลอกให้เหยื่อมาพบภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเหยื่อหลงเชื่อมาพบตามที่นัดก็ทำทีพาขึ้นไปทำการสัมภาษณ์งานที่ชั้น 3 อาคารสโมสรนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเข้าไปในห้องดังกล่าวนายพงษ์พันธ์ ก็หาอาศัยช่วงที่ปลอดผู้คนทำการล๊อคห้อง แล้วนำอาวุธมีดจี้บังคับข่มขู่ไม่ให้เหยื่อต่อสู้ขัดขืน พร้อมบังคับให้แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับนายพงษ์พันธ์ และทำการข่มขืนกระทำชำเราจนสำเร็จความใคร่ ก่อนจะขโมยเอาทรัพย์สินของเหยื่อไป

พ.ต.อ.พัฒนากล่าวอีกว่า หลังศาลอาญาออกหมายจับผู้ต้องหารายนี้ ตามหลักฐานที่ปรากฏตามภาพจากกล้องวงจรปิด เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน สน.บางเขน จึงทำการสืบสวนสอบสวนติดตามจับกุมตัวผู้ต้องหารายนี้ จนกระทั่งทราบว่าเมื่อช่วงเย็นวานนี้ (14 ต.ค.) นายพงษ์พันธ์ได้ทำการนัดสัมภาษณ์กับสายลับในลักษณะเช่นเดียวกันกับ น.ส.เอ ผู้เสียหายที่เข้าแจ้งความไว้ โดยได้นัดหมายไปสัมภาษณ์ที่บริเวณซุ้มม้านั่งฝั่งตรงข้ามอาคารสโมสรนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้วางแผนเข้าจับกุม โดยได้เดินทางไปทำการสังเกตการณ์บริเวณดังกล่าวพร้อม น.ส.เอ เมื่อนายพงษ์พันธ์ได้เข้ามายังบริเวณม้านั่งตามที่นัดหมาย ซึ่ง น.ส.เอได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่าคือคนร้ายที่ก่อเหตุดังกล่าวจริง ตำรวจจึงได้แสดงตัวเข้าทำการจับกุม ซึ่งนายพงษ์พันธ์ได้ให้การปฏิเสธทุกข้อหล่าวหา จึงได้ควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป

ทั้งนี้ คาดว่าผู้ต้องหาน่าจะหลอกเหยื่อมาแล้วหลายราย จึงอยากประชาสัมพันธ์ไปถึงผู้ที่เคยตกเป็นเหยื่อให้เข้ามาแจ้งความร้องทุกข์ได้ที่ สน.บางเขน ตลอด 24 ชั่วโมง








ข้อมูลทั้งหมดจาก :  http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=a2photo&date=15-10-2010&group=22&gblog=12
                                 http://youtu.be/-C6OpZIrstY

10. เทคนิคในการใช้ Internet Explorer









10 เทคนิคการใช้ Internet Explorer
คีย์ลัดในการใช้งาน Internet Explorer พอดีว่าได้ไปเจอบทความหนึ่งน่าสนใจ เพื่อให้การใช้งาน Internet Explorer ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองนำไปใช้ดูนะคะ ได้ผลอย่างไรลองมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ
1. การแสดงพื้นที่บน internet Explorer ให้มากที่สุด ให้กด keyboard F11 เพื่อขยายเต็มหน้าจอ กดอีกครั้งจะเป็นการกลับสู่สภาพเดิม
2. ค้นหาข้อมูลใน web ที่กำลังใช้งาน เราสามารถ search ข้อมูลใน web ที่กำลังเข้าไปดูอยู่ได้ โดยการกด keyboard Ctrl+F
3. ปุ่มใดแทนคำสั่ง back ได้ ปุ่ม Backspace ใน keyboard สามารถใช้ทดแทนคำสั่ง back เวลาเราใช้งาน Internet Explorer ได้
4. ปิด window ให้เร็วดังใจ  ใช้ปุ่ม Ctrl+W ใน keyboard เพื่อปิด window ที่กำลังใช้งานอยู่ได้
5. ดู address bar ว่าเราเข้าเว็บไหนมาบ้าง  address bar คือตำแหน่งที่ใช้ในการพิมพ์ url ของ web site ต่าง ๆ เราสามารถดูได้ว่าเคยพิมพ์อะไรไปบ้าง โดยการกดปุ่ม keyboard F4 โปรแกรมจะแสดงรายละเอียดให้ทราบ
6. save URL ให้เร็วที่สุด คุณสามารถกดปุ่ม keyboard Ctrl+D เพื่อ save ที่อยู่ใน web site ที่คุณดูอยู่ในปัจจุบันได้
7. ส่ง web ถูกใจไปให้เพื่อน  คุณทราบหรือไม่ว่า web page ต่าง ๆ ที่เราแวะเข้าไป สามารถส่งไปให้เพื่อนดูได้ เพียงแค่เลือกเมนู File เลือก Send และเลือกหัวข้อ Page by Email แค่นี้เพื่อนคุณก็จะได้รับ web ที่มีหน้าตาเหมือนกับที่คุณกำลังดูอยู่
8. เลื่อนดูหน้า web อย่างรวดเร็ว  ปกติเวลาจะดูรายละเอียดของ web page แต่ละหน้า จำเป็นต้องใช้เม้าส์คลิกลาก ขึ้น-ลง ด้านบนสุด หรือล่างสุด ทำให้ไม่สะดวกนักสำหรับผู้ไม่ถนัดในการใช้เมาส์ ลองกดปุ่ม keyboard ที่ชื่อว่า Home หรือ End ดู คงช่วยอะไรคุณได้บ้าง
9. อยาก save ภาพเป็น wallpaper  บางครั้งเราแวะไปเยี่ยมชม web site บางแห่ง แล้วถูกใจในรูปภาพนั้น ๆ และอยากจะนำกลับมาเป็น wallpaper สำหรับโปรแกรม Internet Explorer มีตัวช่วยให้คุณ เพียงแค่กด คลิกขวาที่บริเวณภาพ จากนั้นเลือกคำสั่ง Set as wallpaper
10. เลื่อนขึ้น-ลง ทีละนิด  web page บางหน้าอาจมีความยาวมาก การจะเลื่อนหน้าทีละนิดเพื่ออ่านข้อมูล ถ้าจะใช้เมาส์ บางทีอาจไม่สะดวกนัก ลองใช้ keyboard ปุ่มที่ชื่อว่า Page Up หรือ Page Down หรือว่า แค่เคาะ Spacebar ก็สามารถเลื่อนลงมากดูรายละเอียดของ web นั้นได้สะดวก น่าจะดีกว่าเยอะเลย


ข้อมูลทั้งหมดจาด : http://51010914179.blogspot.com/

ดญ.หัดแช็ต รูปว่อน-ขายตัว!




                ภัยอินเตอร์เน็ต ผู้ปกครองพาด.ญ.วัย 13 เข้าแจ้งความกับตร.ขอนแก่น หลังเหยื่อสาวมีรูปปรากฏในเว็บไซต์ขายตัวหรา เจ้าตัวเผยก่อนหน้านี้ไปเล่นแช็ตทางอินเตอร์เน็ตกับเพื่อนที่ร้านเกมและอินเตอร์เน็ต เข้าเว็บคิวคิวหาเพื่อน มีกล้องเว็บแคมเห็นกันทั้ง 2 ฝ่าย พอรุ่งขึ้นอีกวันมีเพื่อนมาบอกว่ามีรูปตนเองปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ขายตัว จึงตัดสินใจนำเรื่องเข้าแจ้งความ เพื่อเอาผิดกับคนเผยแพร่
                  เมื่อเวลา 12.45 น. วันที่ 6 เม.ย. นายพจน์ (นามสมมติ) อายุ 36 ปี ชาวจ.ขอนแก่น พา ด.ญ.แตงโม (นามสมมติ) อายุ 13 ปี นักเรียนชั้นม.1 โรงเรียนชื่อดังในจ.ขอนแก่น กับเพื่อนนักเรียนหญิงสองคน พร้อมผู้ปกครองและญาติ เข้าแจ้งความร้องทุกข์กับพ.ต.ท.ภูมี อีคะละ สวส.สภ.เมืองขอนแก่น ว่า เมื่อค่ำวันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา ด.ญ.แตงโมและเพื่อนนักเรียนหญิงรวม 3 คน ไปเล่นแช็ตทางอินเตอร์เน็ตในเว็บไซต์ต่างๆ ภายในร้านเกมและอินเตอร์เน็ต โดยมีจอกล้องเว็บแคมที่ต้นทางและปลายทางเห็นภาพคนเล่น ต่อมาจู่ๆ มีรูปด.ญ.แตงโมประกาศขายตัวในเน็ต ทั้งๆ ที่เจ้าตัวไม่รู้เรื่อง ทำให้ได้รับความอับอายและเสื่อมเสียชื่อเสียง จึงตัดสินใจนำเรื่องเข้าแจ้งความร้องทุกข์กับตำรวจ
                  จากการสอบสวนด.ญ.แตงโมให้การว่า ก่อนหน้านี้ไม่เคยเล่นแช็ตมาก่อน จนเพื่อนนักเรียนหญิง 2 คน ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทมาชวนแล้วพาไปเล่นที่ร้านเกมดังกล่าว ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ได้เข้าเว็บคิวคิวหาเพื่อนทางอินเตอร์เน็ตอย่างสนุกสนาน โดยมีจอกล้องเว็บแคมที่ทางต้นทางและปลายทางสามารถติดต่อมองเห็นหน้ากันได้ กระทั่งเล่นเสร็จได้แยกย้ายกันกลับบ้าน จนรุ่งเช้าวันเดียวกันนี้ มีญาติลูกพี่ลูกน้องที่เป็นผู้ชายวัยไล่เลี่ยกัน มาหาที่บ้านแล้วเล่าให้ฟังว่า เข้าไปเล่นเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ตเห็นภาพตนปรากฏอยู่รวมกับคนอื่นๆ พร้อมข้อ ความประกาศขายตัว ตนตกใจมาก เพราะไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดเรื่องร้ายแรงแบบนี้กับตน จึงเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้บิดาและญาติพี่น้องฟัง และพากันมาแจ้งความดังกล่าว
                     หลังรับแจ้งเจ้าหน้าที่ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน พร้อมดำเนินการให้ความช่วยเหลือติดตามคนที่นำภาพไปแพร่ทางเน็ตมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป


ข้อมูลทั้งหมดจาก : http://www.ohbar.com.au/main/view-content.php?id_content=1255








วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การรักษาโรคทางไกลด้วย Google Hangout





                เมื่อนึกถึงคำว่าเทคโนโลยี หลายๆท่านก็จะนึกถึงสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวก หรือสิ่งที่ช่วยเพิ่มความบันเทิง แต่จริงๆแล้ว เทคโนโลยีที่มีอยู่รอบๆตัว ถ้านำไปประยุกต์ใช้เช่นสนับสนุนการศึกษาทางไกล การเข้าถึงข้อมูลการเกษตร รวมถึงบริการสาธารณสุขในพื้นที่ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญก็จะเพิ่มโอกาสในการอยู่รอด และเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ไม่น้อยเลยนะคะ

……บทความนี้ ไอที24ชั่วโมง จึงขอยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยีใกล้ๆตัวที่มีอยู่แล้ว พบเห็นอยู่รอบๆตัวมาใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต….เช่นนำมาช่วยในการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาโรคและบริการสาธารณสุขที่ดีแม้อยู่ในพื้นที่ห่างไกลค่ะ
Telemedicine (การรักษาโรคทางไกล)


    
                            
                             
               Telemedicine หรือการรักษาโรคแบบทางไกล คือการนำเทคโนโลยีด้านไอที และเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคม (โทรศัพท์, คลื่นวิทยุ, คลื่นไมโครเวฟ , wi-fi, เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ , 3G , 4G, ดาวเทียม เป็นต้น) มาช่วยในการตรวจวินิจฉัยโรค รักษาโรค และดูแลผู้ป่วย โดยมักจะมุ่งไปเพื่อการนำบริการด้านสาธารณสุขให้เข้าถึงพื้นที่ที่ห่างไกลและขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญและบริการด้านสุขภาพโดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วและเทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งการทำ Telemedicine นี้ เป็นได้ตั้งแต่ง่ายๆเพียงแค่การทำตารางนัดหมายแบบออนไลน์ ไปจนถึงการผ่านตัดทางไกล ( remote surgery) เลยก็ได้

การ
                  
                   ทำ remote monitoring ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของ Telemedicine ช่วยให้การ monitor หรือการตรวจสังเกตุติดตามอาการคนไข้หรือคนแก่ ทำได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องนั่งเฝ้าตลอดเวลา เช่นติดตั้งกล้องวงจรปิดที่สามารถส่งภาพมายังโทรศัพท์มือถือผ่านทางอินเทอร์เน็ต ให้คอยติดตามดูอาการของคนไข้หรือคนชราที่อยู่บ้านคนเดียวได้ตลอดเวลา แม้ลูกหลานจะอยู่นอกบ้าน หรือการติด sensor ไว้ที่คนไข้เพื่อให้ส่งสัญญาณการติดตามอาการ หรือส่งสัญญาณเตือนหากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นมายังคอมพิวเตอร์หรือมือถือ หรือ Tablet ของผู้ที่มีหน้าที่เฝ้าสังเกตอาการของคนไข้เป็นต้น

Telemedicine นี้มิใช้เรื่องใหม่ ในหลายๆประเทศมีการริเริ่มใช้มานานแล้ว และนักวิจัยก็ได้พัฒนางานวิจัยด้านนี้มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนับสิบปี


                  การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีแบบไร้สายและเทคโนโลยี mobile ต่างๆในปัจจุบัน ทั้ง 3G, 4G และอุปกรณ์ mobile ต่างๆ (โทรศัพท์มือถือ, Tablet, คอมพิวเตอร์แบบพกพา) ยิ่งเอื้ออำนวยต่อการพัฒนา Telemedicine ให้ก้าวไกลและสะดวกยิ่งขึ้น ยังผลให้สามารถจัดหาการสาธารณสุขที่ดีให้เข้าถึงประชาชนทุกพื้นที่ รวมไปถึงการเข้าถึงการศึกษาและความรู้ด้านการแพทย์เป็นไปได้ง่ายขึ้น ดังนั้น Telemedicine สามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนได้ทั้งคนในเมืองและคนในชนบท
ประยุกต์ใช้ Google Hangout เพื่อการรักษาโรคทางไกล


               เมื่อเร็วๆนี้ก็มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วและใช้กันในชีวิตประจำวัน อย่าง Google hangout ที่ช่วยให้สามารถสนทนาแบบเห็นหน้ากัน ได้หลายๆคนพร้อมๆกัน ผ่านทางอินเทอร์เน็ต อันเป็นบริการที่มีอยู่ใน Google+ ที่หลายๆคนก็ใช้ในการคุยกับเพื่อน, โพส update status หรือ comment เพื่อนๆกันอยู่แล้ว มาช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาโรค แม้อยู่พื้นที่ห่างไกลและขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ

              ตัวอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ เป็นตัวอย่างที่พยาบาลที่ประจำอยู่ที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ บ้านหนองโสมง ตำบลอุดมทรัพย์ ซึ่งขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง จึงขอคำปรึกษากับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญที่ประจำอยู่ที่โรงพยาบาล ประจำอำเภอวังน้ำเขียว โดยการคุยกันผ่านทาง Google Hangout ที่ให้สนทนาแบบทั้งภาพและเสียง เหมือนกับการทำ video conference ผ่านทางอินเทอร์เน็ต 3G

              พยาบาลที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ บ้านหนองโสมง ได้เล่าถึงลักษณะอาการ และนำกล้องเวปแคมถ่ายภาพลักษณะอาการของคนไข้ เพื่อให้คุณหมอผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ที่โรงพยาบาลในเมืองช่วยวินิจฉัย ซึ่งคุณหมอก็ได้ให้คำแนะนำถึงวิธีการรักษา และแนะนำยาที่จะต้องใช้ ทำให้คนไข้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ได้รับการรักษารวดเร็วขึ้น ไม่ต้องรอเป็นสัปดาห์เพื่อเดินทางไปหาหมอในเมือง หรือในจังหวัดอื่น


                    การทำ Telemedicine นี้ จะเห็นประโยชน์มากขึ้นเมื่อนำมาใช้กับกรณีที่แต่ละพื้นที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ เช่นกรุงเทพกับพื้นที่บนดอยที่เชียงราย หรือประเทศไทยกับต่างประเทศเป็นต้น ซึ่งพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่ห่างไกลในหลายๆประเทศ รวมถึงประเทศไทย ก็มักจะขาดแคลนคุณหมอ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษา ซึ่งถ้าหากใช้เทคโนโลยีลักษณะนี้เข้ามาช่วย การรักษาหรือการดูแลสุขภาพ สาธารณะสุขที่ดี ก็จะเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลได้มากขึ้น

                          สำหรับประเทศไทยเอง หากพื้นที่แม้บนดอยหรือชนบทที่ห่างไกล สามารถมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างเช่น 3G เข้าถึง… การจะทำ telemedicine หรือ distant learning เพื่อการศึกษา ก็จะเป็นไปได้ง่ายขึ้น ความเจริญทางการศึกษาและการสาธารณสุข ก็จะเข้าไปสู่พื้นที่ที่ห่างไกลเหล่านั้น เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับคนในชนบท นำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

ข้อมูลทั้งหมดจาก : http://www.it24hrs.com/2012/telemedicine-with-google-hangouts/
                               

แถลงผลตรวจจับซอฟต์แวร์เถื่อนปี2554



บก. ปอศ. แถลงผลตรวจจับซอฟต์แวร์เถื่อนปี2554 พร้อมผลักดันไทยรณรงค์ลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์




           กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.) ประกาศความพร้อมในการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในปีนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำของภูมิภาคในด้านการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เผยปี 2554 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้ทำการเข้าตรวจค้นองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้น แม้จะมีการเว้นช่วงในภาวะน้ำท่วม


ในปีที่ผ่านมา บก. ปอศ. ได้ดำเนินคดีกับองค์กรธุรกิจที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนเครื่องพีซีทั้งหมด 184 แห่ง คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 538.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับปี 2553 หากดูจากกราฟสถิติการตรวจจับละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เปรียบเทียบระหว่างปี 2551-2554 จะเห็นได้ว่า มูลค่าความเสียหายในปีที่แล้วยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน


โดยแต่ละแห่งมีมูลค่าสินทรัพย์โดยรวมอย่างน้อย 100 ล้านบาท และมีองค์กรธุรกิจ 15 แห่งจากทั้งหมด มีรายได้ต่อปีมากกว่า 1,000 ล้านบาท มีองค์กรธุรกิจสัญชาติอเมริกันสองแห่งที่ถูกตรวจค้น และพบว่ามีมูลค่าการละเมิดลิขสิทธิซอฟต์แวร์ถึง 1.61 ล้านบาท


สำหรับสถิติการตรวจค้นองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เมื่อปีที่ผ่านมา จะตรวจค้นที่กิจการด้านการผลิตสินค้า และกิจการด้านก่อสร้างและออกแบบ โดยสาเหตุส่วนใหญ่ของการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เพื่อหวังกำไรสูง ต้นทุนต่ำ





ที่มา: BSA-International Data Corporation (IDC) 2010 Global Software Piracy Study

              ด้วยการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์โดย บก.ปอศ. กับการรณรงค์ให้องค์กรธุรกิจใช้ซอฟต์แวร์แท้ ส่งผลให้ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่สองของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ในด้านอัตราการลดลงของการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน จากสถิติข้อมูลจาก BSA เมื่อปี 2010 โดยเทียบตั้งแต่ 2549-2553 พบว่าอัตราการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในไทยลดน้อยลงร้อยละ 2 ต่อปี เป็นรองประเทศฮ่องกงเพียง 1 จุดเท่านั้น บก.ปอศ. ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ประเทศไทยจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำของภูมิภาค ในการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในปีนี้


 
                         พ.ต.อ. ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปกศ) ได้แนะนำ องค์กรภาคธุรกิจ ช่วยกันรณรงค์ให้ใช้ซอฟต์แวร์แท้ ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะไม่เพียงแต่จะปกป้ององค์กรธุรกิจจากการถูกดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์แล้ว แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย สร้างโอกาสในการจ้างงาน สร้างโอกาสทางธุรกิจ ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมไอทีและนวัตกรรมให้เติบโตขึ้น เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและได้รับการยอมรับจากนานาประเทศอีกด้วย

ข้อมูลทั้งหมดจาก: http://www.it24hrs.com/2012/ecd-stats-2554/
                              http://www.youtube.com/watch?v=3eGFpfP5ql0&feature=youtu.be

มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

                  อินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นบริการสาธารณะและมีผู้ใช้จำนวนมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เข้ามาใช้ควรมีกฏกติกาที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานที่ผิดวิธี ในทีนี้ขอแยกเป็น 2 ประเด็น คือ
1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย ประกอบด้วย
  • ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ
  • ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น
  • ควรวางแผนการใช้งานล่วงหน้าก่อนการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อเป็นการประหยัดเวลา
  • เลือกถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานจริง
  • ก่อนเข้าใช้บริการต่างๆ ควรศึกษากฏ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการติอต่อ
ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย ประกอบด้วย
  • เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ
  • เมื่อนำข้อมูลจากเครือข่ายมาใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และไม่ควรแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
  • ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต
ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ประกอบด้วย
  • ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
  • ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย
  • ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น
  • ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นควรสอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย
  • ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่
ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ ประกอบด้วย
  • ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการติดต่อกับเครือข่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นๆ บ้าง
  • ควรติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น
2. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย
  • ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
  • ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
  • ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้
  • ควรระบุแหล่งที่มา วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้เผยแพร่ รวมทั้งควรมีคำแนะนำ และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน
  • ควรระบุข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น
  • ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย
  • ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย และควรตรวจสอบแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร หรือโปรแกรมว่าปลอดไวรัส ก่อนเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
ข้อมูลทั้งหมดจาก: http://tc.mengrai.ac.th/paisan/e-learning/internet/page35.htm